สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ฟันธง FTA ปี 2553 ปัจจัยหนุนการส่งออกไทยไปตลาดประเทศคู่เจรจา

จากประชาชาติธุรกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทยทำกับ 7 ประเทศคู่ค้าคือ อาเซียน จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คือ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งออกไทยในปี 2553

      ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทยทำกับ 7 ประเทศคู่ค้าคือ อาเซียน จีน  อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งออกไทยในปีนี้ เพราะนอกจากสินค้าไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีในอัตราที่เพิ่มขึ้นและครอบ คลุมสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะการยกเลิกภาษีสินค้าปกติทุกรายการในกรอบ AFTA และในกรอบ FTA อาเซียน-จีนแล้ว ยังรวมถึง FTA ที่มีผลบังคับใช้ในปีนี้คือ FTA อาเซียน-อินเดีย FTA อา เซียน-เกาหลีใต้และ FTA อา เซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ การส่งออกไทยยังได้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของประเทศคู่เจรจา FTA ของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ตลอดจนสมาชิกอาเซียนเดิมอย่างอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ส่วนเศรฐกิจของญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ที่หดตัวลงในปีก่อนอาจจะกลับมาขยายตัว ได้อีกครั้งในปีนี้

            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ตลาดที่ไทยมี โอกาสการส่งออกสูงในปี 2553 คือ อินเดีย  จีน รวมถึงอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม เพราะ 1.) การ เติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูง 2.) อาเซียนเดิมและจีนได้ยกเลิกภาษีสินค้าทุกรายการในบัญชีลดภาษีให้กับไทยแล้ว ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 ขณะที่อินเดียได้ลดภาษีสินค้าให้กับไทยกว่า 5,000 รายการภายใต้ AIFTA เพิ่มเติมจากการยกเลิกภาษีสินค้า 82 รายการใน TIFTA ไป เมื่อก.ย. 2549 3.) ผู้ประกอบกอบการไทยมีแนวโน้มใช้สิทธิ FTA เพื่อการส่งออก มากขึ้นโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ส่วนตลาดที่ไทยมีโอกาสการส่งออกปานกลางคือ  เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพราะเศรษฐกิจปี 2553 ของทั้ง 3 ประเทศมีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างต่ำ แม้ว่าเกาหลีใต้ต้องยกเลิกภาษีสินค้าให้กับไทยถึงร้อยละ 92.3 ของพิกัดสินค้า และออสเตรเลียต้องยกเลิกภาษีให้กับไทยถึงร้อยละ 96.1 ของพิกัดสินค้าก็ตาม หากผู้ส่งออกไทยสามารถปรับตัวเพื่อให้ใช้สิทธิ FTA ได้มากขึ้นแล้ว จะช่วยขยายโอกาสการส่งออกไทยไปยังเกาหลีใต้และออสเตรเลียได้

ประเด็น ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการไทยคือ มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) อาทิกฎข้อ บังคับด้านเทคนิค มาตรฐานที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กฎระเบียบและขั้นตอนการนำเข้าที่มีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนและความเข้มงวดขึ้น ซึ่งมาตรการที่มิใช่ภาษีหลายมาตรการอาจจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการไทย เพิ่มขึ้นมากกว่าต้นทุนทางภาษีที่ลดลงหลังจากประเทศคู่เจรจาลดหรือยกเลิก ภาษีให้กับสินค้าไทยภายใต้ FTA ต่างๆ ที่ไทยทำกับ 7 ประเทศคู่เจรจา โดยมาตรการทางเทคนิคและมาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดมากนั้นอาจก่อภาระต้นทุนให้ กับผู้ประกอบการไทยเพิ่มขึ้นมาก ทั้งต้นทุนที่อาจจะสูงขึ้นจากการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและ สอดคล้องกับกฎระเบียบการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า นอกจากนี้ยังรวมถึงต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากการประเมินหรือทดสอบคุณภาพของ สินค้าว่ามีกระบวนการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า หรือไม่

view