จากประชาชาติธุรกิจ
เฮลท์ ทริกส์
รู้ทันกินเนื้อแดง เสี่ยงตาบอด
นักวิจัยออกมาชี้ว่า หากรับประทานเนื้อสัตว์สีแดง 10 ส่วนขึ้นไป/สัปดาห์ จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเกือบ 50% ที่เรติน่าหรือจอประสาทตาจะเสื่อมเร็วเมื่อสูงอายุ แต่หากเอร็ดอร่อยกับเนื้อไก่อย่างน้อย 3 ครั้ง/อาทิตย์ เสี่ยงน้อยกว่า
เทเลกราฟรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ตรวจสุขภาพตาของอาสาสมัครอายุ 58-69 ปี จำนวน 6,700 คน เพื่อหาสัญญาณของโรคจอประสาทตาเสื่อม (age-related macular degeneration : AMD) ซึ่งเป็นความผิดปกติลำดับต้น ๆ ที่คุกคามการมองเห็นของชาวอังกฤษ จากนั้นให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเรื่องการกินอยู่เพื่อหาความเกี่ยวพัน ระหว่างพฤติกรรมการใช้ชีวิตกับโรคนี้
จุดรับภาพ (macular) อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจอประสาทตาและเป็นส่วนที่ไวต่อการตอบสนองที่สุด มันช่วยให้คนเรามองเห็นรายละเอียดในการเขียนอ่านและยังมีส่วนสำคัญในการแยก แยะสีสันต่าง ๆ
ปัจจุบันคนในสหราช อาณาจักรป่วยเป็นโรคนี้ถึงกว่า 5 แสนคน อาการเริ่มแสดงออกมาเมื่อวัยย่างเข้าเลขห้า มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดใต้จุดศูนย์กลางจอประสาทตาขยายตัว จนมีของเหลวรั่วออกจากเส้นเลือดเหล่านั้น ทำให้เกิดรอยแผลเป็นซึ่งไปรบกวนการทำงานของศูนย์กลางจอประสาทตา
ผลการวิจัยชี้ว่าผู้ ที่กินเนื้อแดงอย่างเนื้อหมูหรือเนื้อวัวมากกว่า 10 ครั้ง/สัปดาห์ มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติในจอประสาทตามากกว่าคนที่บริโภคเนื้อแดงต่ำกว่า 5 ครั้ง/สัปดาห์ถึง 47% ส่วนคนที่รับประทานเนื้อไก่อย่างน้อย 3.5 ครั้ง/อาทิตย์ มีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่กินไก่น้อยกว่า 1.5 ครั้ง/อาทิตย์ 57%
ส่วนใหญ่โรคนี้ใช้ เวลาหลายปีกว่าจะแสดงอาการ ดังนั้นอย่าชะล่าใจ เพลา ๆ การกินเนื้อวัว เนื้อหมูลงบ้าง
มลพิษทำลายสมองเด็กในครรภ์
เป็นครั้งแรกที่มี การยืนยันว่าเด็กที่รับมลพิษผ่านทางแม่ขณะอยู่ครรภ์จะมีไอคิวต่ำกว่าเด็ก ทั่วไป
นิวยอร์ก ไทม์ส รายงานว่า นักวิจัยให้สตรีตั้งครรภ์ใกล้คลอดที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์กซิตี 249 คน พกเครื่องวัดมลพิษในอากาศเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมื่อเด็กที่คลอดจากผู้หญิงกลุ่มนี้อายุครบ 5 ขวบ ซึ่งเป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียน ก็ให้เข้าทดสอบไอคิว ปรากฏว่าเด็กกลุ่มที่แม่สัมผัสกับมลพิษมากที่สุดในระหว่างตั้งครรภ์มีไอคิว 5-6 จุดต่ำกว่าเด็กที่ได้รับมลพิษน้อย
ดร.เฟรเดอริกา เปเรรา หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า ความแตกต่างนี้มากพอจะสร้างความแตกต่างในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเมื่อเข้า โรงเรียนได้ และยังเสริมว่างานวิจัยนี้ทำให้ผู้คนตระหนักว่าไม่ใช่เฉพาะคนที่อยู่ใกล้โรง งาน หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่การจราจรคับคั่งเท่านั้นที่เสี่ยงต่อผลร้ายของมลพิษ แค่มีบ้านอยู่ในเมืองใหญ่ก็มีความเสี่ยงสูงแล้ว
แพทริก เบรสส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมแห่งวิทยาลัยสาธารณสุข จอห์น ฮอปกินส์ ชี้ว่า นอกจากสารตะกั่วแล้ว มลพิษในอากาศก็มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมองของเด็กในครรภ์เช่นกัน นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กยากจนซึ่งมักอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย จึงมักมีไอคิวต่ำกว่าเด็กจากครอบครัวร่ำรวย