จากประชาชาติธุรกิจ
หลังจากกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. เริ่มต้นชุมนุมใหญ่ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 บริเวณสะพานผ่านฟ้า และชุมนุมต่อเนื่องมาจนกระทั่งย้ายไปปักหลักตั้งเวทีใหญ่บริเวณสี่แยกราช ประสงค์ ประเทศไทยก็เริ่มเดินหน้าเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญ
แม้จะมีความพยายามที่จะหาข้อยุติด้วยการ เจรจาหลายครั้ง รวมถึงการเสนอแผน ′ปรองดอง′ ประกาศวันเลือกตั้ง 14 พ.ย. 2553 แต่ต่อมามีเงื่อนไขในรายละเอียดที่แตกต่างกัน จนกระทั่งดับความหวังที่จะกลับสู่เส้นทางเจรจา-สันติวิธีลงในที่สุด
14-18 พ.ค. 2553 การปะทะขยายวงออกไปทั้งบริเวณถนนพระรามที่ 4 สะพานไทย-เบลเยียม หน้าสนามมวยลุมพินี ย่านชุมชนบ่อนไก่ บริเวณแยกประตูน้ำ ถนนราชปรารภ แยกมักกะสัน ไปจนถึงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง
ยอดผู้ บาดเจ็บ เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน คู่ขนานไปกับ ความสูญเสียที่เกิด กับภาคธุรกิจ การค้า ตลอดจนองค์กร ภาคเอกชนที่ ต่างกลายเป็น ′เหยื่อ′ ในครั้งนี้
ถึงที่สุดแล้ว ตัวเลขความเสียหายในภาพรวมอาจยังไม่ชัดเจนว่าจะไปไกลสุดกู่เหมือนที่นายพิ เชษฐ พันธุ์วิชาติ กุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของพรรคประชาธิปัตย์ประมาณการเอาไว้ใน ระดับ 2-5 แสนล้านบาท หลังจากเห็นภาพจลาจลในวันที่ 19 พ.ค. 2553 ก็ตาม
แต่ภาพย่านธุรกิจราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง จมอยู่ในกองไฟและม่านควัน ก็สะท้อนความสูญเสียของจุดที่เป็นแหล่งค้าขาย-ทำเลสำคัญทางธุรกิจได้อย่าง ชัดเจน
และเป็นความแตกต่างไปจากเหตุการณ์วิกฤตที่ เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่ร้ายแรงเช่นกรณีพฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่งเหตุจลาจล ปรากฏการณ์เผาทำลายจำกัดวงอยู่เฉพาะบริเวณรอบถนนราชดำเนิน เกาะรัตนโกสินทร์
แน่นอน ว่าจุดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดย่อม ได้แก่ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเฉพาะในปีกของห้างสรรพสินค้า ZEN ถูกเผาทำลายจากชั้นล่างขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ร้านค้าย่อยที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวย่อยยับไปกับเปลวเพลิงแทบจะสิ้นเชิง โชคดีอยู่บ้างที่ในส่วนของอิเซตัน พื้นที่พลาซ่าบางส่วน รวมถึงโรงแรมเซ็นทารา ได้รับผลกระทบไม่มากนัก
ถัดจากจุดดังกล่าวไปไม่ไกล บิ๊กซี ซูเปอร์สโตร์ ซึ่งอยู่คนละฝั่งถนนราชดำริ ก็ถูกเพลิงไหม้เสียหายรุนแรงเช่นเดียวกับพื้นที่ของสยามสแควร์ ในบริเวณโรงภาพยนตร์สยามและอาคารพาณิชย์โดยรอบที่ถูกเพลิงไหม้เสียหายเกือบ ทั้งหมด
ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์ วัน แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอีก จุดหนึ่ง ที่กลายเป็นเหยื่อของการวางเพลิง ตัวอาคารร้านค้าภายในเสียหายแทบทั้งหมด
พื้นที่ย่านการค้าเหล่า นั้นประสบชะตากรรมที่จะเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ในขณะที่พื้นที่ศูนย์การค้าอีกหลายแห่งโชคดีกว่า ไม่ ได้รับความเสียหายเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการ เสียโอกาสจากการปิดการค้านานประมาณเกือบ 2 เดือน ได้แก่ สยาม พารากอน, สยามดิสคัฟเวอรี่, อัมรินทร์พลาซ่า, ศูนย์การค้าเกษร, เซ็นทรัล ชิดลม
ผลพวงจากความโกรธแค้นของฝูงชนลุกลามไป ไกลถึงอาคารมาลีนนท์ ตึกทำการของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งแม้ความสูญเสียทางกายภาพจากเพลิงไหม้ตัวอาคารอาจไม่รุนแรงหรือยับเยิน มากนัก แต่การต้องหยุดออกอากาศรายการปกติไปนานกว่า 2 วัน นั่นหมายถึงรายได้มหาศาลที่หายวับไปกับตา และต้องกลับมาตั้งหลักกันใหม่ท่ามกลางความไม่แน่ใจในหลาย ๆ เรื่อง
′เหยื่อ′ ของสถานการณ์ตัวจริงอีกธุรกิจนั่นคือร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ของ บมจ.ซีพี ออลล์ ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากจะกลายเป็นที่ระบายอารมณ์โกรธแค้นของฝูงชนแล้ว ยังมีอีกหลายสาขาทั้งย่านกลางเมืองและปริมณฑล ที่โดนทุบทำลาย พยายามเผา รวมถึงปล้นเอาสินค้าภายในร้าน
และสุดท้าย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งจนถึงขณะนี้ สาขาธนาคารแบรนด์หลัก ๆ ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง การเผาทำลายสาขา ตลอดจนวิธีการทุบทำลายตู้เอทีเอ็ม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเหตุการณ์มิคสัญญีช่วงที่ผ่านมา
จากการสำรวจล่า สุดพบว่ามีการเผาทำลายสาขาธนาคาร 5 แห่ง รวม 17 สาขา (ไม่รวมสาขาย่อยในห้างเซ็นทรัลเวิลด์) คือธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย นครหลวงไทย และออมสิน โดยส่วนใหญ่เป็นสาขาของธนาคารกรุงเทพ เนื่องจากธนาคาร กรุงไทยถูกทำลาย 2 แห่งคือสาขาอโศกและสาขาหน้าโรงเรียนมาแตร์เดอี ธนาคารนครหลวงไทยและออมสินถูกเผาไปแห่งละ 1 สาขา ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยสาขาอโศก นครหลวงไทยสาขาตลาดปีนัง เขตคลองตัน และธนาคารออมสินสาขาดินแดง ซึ่งเกิดความเสี ยหายบางส่วน
สาขา ของธนาคารกสิกรไทย เพลิงไหม้เสียหายทั้งหมด 2 สาขา คือ สาขางามดูพลี สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ส่วน สาขาในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ คาดว่าธนาคารทุกแห่งที่เช่าพื้นที่เปิดสาขาอยู่จะได้รับความเสียหายทั้งหมด ตามความเสียหายของตัวห้าง
ยังไม่นับรวมอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยที่พลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย (ถูกเพลิงไหม้ในวันที่ 19 พ.ค.)
ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของซาก ความเสียหาย อันเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในระหว่างการชุมนุมทางการเมือง และปะทุถึงขีดสุดในวันที่ 19 พ.ค. 2553
วันวิปโยคแห่งสยามประเทศที่ทิ้งบาดแผลทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและฝังลึกมากที่สุดเท่าที่เคยเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะ นี้