สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดญัตติ12ข้อหาซักฟอกรัฐบาล

จาก โพสต์ทูเดย์   

เปิดญัตติเพื่อไทยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ชี้แนวนโยบายบริหารล้มเหลวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 12 ข้อหา จำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล-สั่งทหารใช้อาวุธปราบปรามทำให้เกิดความสูญเสีย 

โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

หมายเหตุ : สาระสำคัญในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีอีก 5 คน คือ 1.นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี 2.นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ 3.นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม 4.นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และ 5. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 และ 159

ด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ได้บริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจที่ไม่ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้กระทำการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้โดยเกินความจำเป็น โดยการสั่งให้ทหารใช้อาวุธสงครามทุกชนิดเข้าทำการปราบปรามประชาชน เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกายของประชาชนจำนวนมาก

ตัว แทนพรรคเพื่อไทยเข้ายื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจที่รัฐสภา

แนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินด้านการต่างประเทศและด้านเศรษฐกิจล้ม เหลวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ขาดไร้วินัยการเงินการคลัง มีการก่อหนี้ของรัฐโดยไม่ชอบ ดังนั้น หากจะให้บริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ในทุกด้าน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำดังนี้

1.กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อมุ่งแสวงหา ประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ส่งผลให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และปล่อยปละละเลยและรู้เห็นเป็นใจให้รัฐมนตรีให้คณะรัฐมนตรีทุจริตคอรัปชั่น ผ่านนโยบายจากโครงการต่างๆ เช่น ในโครงการไทยเข้มแข็ง ชุมชนพอเพียง จัดซื้อาวุธในกองทัพและการจัดซื้อจัดจ้างในหลายกระทรวง เช่น กระทรวงคมนาคม

2.ละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายอย่างร้ายแรง เลือกปฎิ บัติเกินความจำเป็นและความเหมาะสมแก่สถานการณ์ต่อประชาชนผู้ชุมนุม ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามประชาชนที่ชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนับแต่เดือน เมษายน 2552 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ทั้งที่การชุมนุมมีเป้าหมายชัดแจ้งคือการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเห็นว่าที่มาของรัฐบาลไม่ชอบธรรม แต่นายอภิสิทธิ์กลับให้ “หีบศพ” กับประชาชนร่วมร้อยศพและบาดเจ็บทุขพลภาพจำนวนมากอย่างที่รัฐบาลพลเรือนของ ประเทศไทยและในต่างประเทศไม่เคยกระทำเช่นนี้กับประชาชนมาก่อน

3.ลุแก่อำนาจด้วยการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเครื่องมือทาง การเมืองของตนเองโดยไม่สุจริตและเลือกปฎิบัติเช่น การประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่มีเหตุผลและเงื่อนไขตามกฎหมาย ถือเป็นการออกคำสั่งและประกาศที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรง

4.ปกปิดความผิดของตนเองและพวกพ้อง โดยหลีกเลี่ยงที่จะปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อช่วยให้ตนเองและพวกพ้อง พ้นจากความผิด จากกรณีการนำเหตุการณ์สลายการชุมนุมเข้าเป็นคดีพิเศษ โดยโยนความรับผิดชอบไปให้บุคคลอื่นและไม่ปฎิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 150

5.บังคับใช้กฎหมายโดยเลือกปฎิบัติเป็นสองมาตรฐานเพื่อ มุ่งความช่วยเหลือพวกพ้องตนเองและละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อนำ ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

6.ครอบงำ แทรกแซง การปฎิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ใข้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือเพื่อทำลายฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างและ ตรงข้ามกับรัฐบาล และปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ วิทยุชุมชน เว็ปไซต์ ที่เห็นแตกต่างจากรัฐบาล ขณะที่ปล่อยให้สื่อมวลชนอีกฝ่ายออกมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงส่งผลให้ ความขัดแย้งของประชาชนขยายวงกว้าง

7.ใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงแต่งตั้งข้าราชการ ปล่อยให้นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงแสวงหาผลประโยชน์จากการแต่งตั้งข้า ราชการในหลายกระทรวง ทบวง กรม อีกทั้งแทรกแซงและกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

8.ไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การบริหารงานด้านเศรษฐกิจไม่ปฎิบัติให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 และการกู้เงินเพื่อนำมาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นการละเว้น หลีกเลี่ยง ละเลยไม่ปฎิบัติตามแผนนิติบัญญัติพ.ศ.2552-2554 ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศชาติเกิน 60เปอร์เซ็นต์ นำเงินกู้ส่วนใหญ่ไปเป็นงบก่อสร้างซ่อมถนน ไม่ก่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจโดยรวม ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างประเทศ เช่น กรณีปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นต้น ปล่อยให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีปัญหาเรื่องราคาพืชผล เช่น ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เป็นต้น

9.มีปัญหาทางสังคม โดยปล่อยให้มีการระบาดในเรื่องยาเสพติดและอาชญากรรมอย่างรุนแรง โดยไม่สามารถรักษาความสงบและเรียบร้อยให้เกิดกับสังคมโดยรวมของประเทศได้

10.ขาดภาวะความเป็นผู้นำ ปล่อยให้บุคคลภายนอกที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองเข้าบงการแทรกแซงการปฎิ บัติหน้าที่ของรัฐมนตรี และแสวงหาประโยชน์จากโครงการของรัฐ

11.นโยบายด้านการต่างประเทศล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ด้วยการแต่งตั้งรมว.ต่างประเทศที่กระทำผิดกฎหมายอาญาฐานก่อการร้ายสากลโดย ยึดสนามบินนานาชาติ และดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศในลักษณะก้าวร้าวอย่างรุนแรง ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านต้องเสื่อมทรุดอย่างไม่เคยปรากฎมา ก่อน

12.ขาดความจริงใจในการสร้างความปรองดองและความ สมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม ในทางตรงข้ามกลับมีพฤติกรรมที่สร้างความขัดแย้งให้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดย การปล่อยให้โฆษกส่วนตัวและคนใกล้ชิด

อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 158 เสนอเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนรี พร้อมกันนี้ผู้เสนอญัตติขอเสนอชื่อ ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 171 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

สำหรับสาระสำคัญในญัตติของพรรคเพื่อไทย ที่เสนอขออภิปรายรัฐมนตรีอีก 5 รายมีดังนี้

1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนนรี ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯมีพฤติกรรมส่อกระทำผิดต่อหน้าที่ตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค. 53 ในกรณีการสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ใช้กำลังทหารเข้าไปข่มขู่คุกคามในสถานีไทยคมและทำการทำลายสัญญาณการสื่อสาร โทรทัศน์ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร นอกจากนี้นายสุเทพยังได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จต่อป.ป.ช. กระทำการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยการบุกรุกภูเขา กระทำการออกโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิ์และเตรียมการจัดสรรที่ดินขายโดยไม่ชอบ และมีส่วนร่วมกับนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม

2.นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศผิดพลาดบกพร่องจนขณะนี้ หนี้สาธารณะสูงเกินกว่า 60% และนำเงินที่ได้จากการกู้ไปดำเนินนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐมนตรีใน กระทรวงต่างๆมีการสูญเปล่าในหลายโครงการ ที่เรียกว่า “กู้มาโกง” มีทัศนคติที่ขาดหลักความเป็นประชาธิปไตยโดยชื่นชอบการปฎิวัติรัฐประหาร ไม่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายในเรื่องการจัดเก็บภาษีของนายอภิสิทธิ์ กรณีได้รับประโยชน์จากเอสเอ็มเอส (SMS) ซึ่งกรณีดังกล่าวมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานแล้วว่าการได้รับประโยชน์อันคำนวณ มูลได้เป็นเงินจะต้องนำมารวมเสียภาษี แต่จนขณะนี้นายกรณ์ก็ละเว้นจะให้กรมสรรพากรดำเนินการจัดเก็บภาษีกับนาย อภิสิทธิ์ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการขอออกพระราชกฤษฎีกากู้เงินสี่แสนล้านบาทโดยไม่เป็น ไปตามแผนนิติบัญญัติด้วย

3.นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ บริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศในสายต่อประชาคมโลก และไม่สามารถทำการสำรวตจหลักเขตแดนกับกับประเทศเพื่อนบ้านและเจรจาเรื่องการ ร่วมพัฒนาพื้นที่ที่ไทยและเพื่อนบ้านอ้างสิทธิทับซ้อนรวมทั้งพผลักดัน ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (GMSIACMECS/IMT-GT/JDS)ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน จนกระทั่งเกิดความล้มเหลวในการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนและการ ประชุมที่เกี่ยวข้องตามแผนงานการเป็นประธานอาเซียนของไทย ทำให้ประเทศขาดความน่าเชื่อถือต่อกลุ่มอาเซียนและต่อนานาประเทศทั่วโลก

4.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากกรณีที่ให้บริษัทเครือญาติของตนเองเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐในหลายโครงการ โดยตนเองมีส่วนร่วมเข้าไปลงมติเห็นชอบกับโครงการดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรี รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ แสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง อนุมัติให้มีการขออนุญาตจำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน

5.นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม บริหารราชการโดยการกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งแสวงหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินและ ประโยชน์ทางการเมือง ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจากการเอื้อประโยชน์ ให้บริษัทเอกชนที่เป็นพวกพ้องของตนเอง และญาติของรัฐมนตรีในพรรคการเมืองของตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบจาก การประมูลงาน และเป็นคู่สัญญากับรัฐ ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียเงินงบประมาณเกินกว่าความเป็นจริงหลายพันล้านบาท

view