โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
|
|
ห้องแสดงนิทรรศการ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพรรณพืชต่างๆ |
|
|
ในช่วงวันพืชมงคล ฉันจึงนึกอยากที่จะมาศึกษาเกี่ยวกับพืชพรรณของไทยเราที่ "พิพิธภัณฑ์ พืชกรุงเทพ" หรือชื่อในปัจจุบันว่า "พิพิธภัณฑ์พืชสิริน ธร" ที่ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการเก็บตัวอย่างพืชที่ค้นพบใหม่ๆมากมายจากการสำรวจ ตามพื้นที่ป่าธรรมชาติทั่วประเทศแล้วนำมาจัดรวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ทางการ ศึกษาต่อไป โดยพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพเริ่มขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับงานด้านพฤกษศาสตร์ และการเกษตรที่ได้เจริญพัฒนารุดหน้า สมควรมีผู้ดูแลและขยายการสำรวจพรรณพฤกษาชาติให้มากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมตรวจพันธุ์รุกขชาติขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2463 เพื่อทำหน้าที่สำรวจและตรวจสอบงานที่เกี่ยวข้องกับด้านพฤกษศาสตร์โดยมี พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ เป็นที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ที่สำรวจพบและ การจัดเก็บตัวอย่างพืชตามหลักสากล
|
|
ตู้แสดงตัวอย่าง เมล็ดพรรณพืชแห้ง |
|
|
พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ให้นายแพทย์ A.F.G. Kerr ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของกรมตรวจพันธุ์รุกขชาติเป็นคนแรก ตลอดช่วงระยะเวลาที่นายแพทย์ A.F.G. Kerr ร่วมกับผู้ร่วมสำรวจพรรณไม้หลัก คือ นายเนย อิศรางกูร ณ อยุธยา นายระบิล บุนนาค นายพุด ไพรสุรินทร์ และ หม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ เดินทางรอนแรมสำรวจทุกพื้นที่ของประเทศ ทำให้ได้ตัวอย่างพรรณไม้จากทั่วประเทศกว่า 40,000 หมายเลข ในจำนวนนี้เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่พบครั้งแรกในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพอยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่มวิจัยพฤกษ ศาสตร์ กองคุ้มคลองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเมื่อมีการจัดสร้างอาคารที่ทำการพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ พร้อมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2541 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์ พืชสิรินธร" และทรงเปิดอาคารในปี พ.ศ.2543
|
|
ตู้เก็บตัวอย่างพรรณ ไม้แห้งที่พบเจอในประเทศไทย |
|
|
อาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธรแบ่งเป็น 3 ชั้น มีจำนวนตัวอย่างพรรณไม้ที่ลงทะเบียนแล้วประมาณ 60,000 ตัวอย่าง 305 วงศ์ โดยจัดหมวดหมู่ของพรรณไม้ตามระบบ George Bentham และ Joseph Dalton Hooker นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ โดยในทางทฤษฎีการเรียงลำดับเป็นหมวดพืชใบเลี้ยงคู่ พืชเมล็ดเปลือย และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในทางปฏิบัติพิพิธภัณฑ์ได้ปรับเปลี่ยนลำดับการวางตู้พรรณไม้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว สะดวก และเหมาะสมต่อการศึกษา จึงมีการสลับโดยเริ่มจากหมวดพืชใบเลี้ยงคู่ ต่อด้วยพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และหมวดพืชเมล็ดเปลือยอยู่ลำดับสุดท้าย
|
|
วิธีการดูพรรณไม้ แห้งต้องวางดูที่โต๊ะเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย |
|
|
ใน "ชั้นแรก" แบ่งเป็น ห้องสมุดที่มีเอกสาร วารสาร ตำราด้านพฤกษศาสตร์ ห้องปฏิบัติการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมพืช และห้องจัดแสดงนิทรรศการ สำหรับนิทรรศการที่จัดแสดง อาทิ รายละเอียดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหัศจรรย์พรรณไม้แห่งแผ่นดิน เป็นความหลากหลายของพรรณไม้อันเป็นทรัพยากรพืชที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 15,000 ชนิด ในจำนวนนั้นร้อยละ 30 มีการนำมาใช้ประโยชน์หรือรู้ว่าเป็นโทษ ร้อยละ 70 ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย การจัดแสดงเกี่ยวกับพรรณไม้ต้นแบบในพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดงพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 เป็นต้น
|
|
ตู้แสดงพรรณไม้ดอง ที่ดองด้วยแอลกอฮอล์ |
|
|
เมื่อรู้จักกับความเป็นมาและขอบเขตการทำงานของพิพิธภัณฑ์จากห้องจัด แสดงนิทรรศการในชั้นที่ 1 แล้ว ก็ขึ้นมายังส่วนของ "พิพิธภัณฑ์พืช" ใน "ชั้นที่ 2" กันได้เลย โดยเมื่อเข้ามาภายในพิพิธภัณฑ์พืชนี้จะเห็นตู้มากมายเรียงรายอย่างเป็น ระเบียบอยู่เต็มพื้นที่ ตู้ที่ฉันเห็นนี้ภายในได้เก็บตัวอย่างพรรณพืชแห้งไว้มากมายกว่า 60,000 ตัวอย่าง เมื่อเปิดตู้ออกมาเราจะพบกับกระดาษที่มีลักษณะเหมือนแฟ้มกระดาษมาก มาย เมื่อเปิดแฟ้มเหล่านั้นเราจะเจอกับตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ที่ถือว่ามีการเก็บแบบทั้งเป็นศิลปและเป็นวิทยาศาสตร์ทางอนุกรมวิธานพืช โดยตัวอย่างที่รวบรวมมานั้นควรให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แสดงลักษณะของพืชได้ทุกส่วนจะยิ่งดี
|
|
ตัวอย่างต้นข้าว |
|
|
การจัดวางตัวอย่างพืชก็ต้องจัดตัวอย่างให้เป็นระเบียบ ไม่ให้ส่วนของพืชซ้อนทับกัน จัดใบให้เข้ารูปไม่ม้วนพับและกลับใบให้ด้านล่างขึ้นข้างบนบ้าง เพื่อให้เห็นลักษณะบางอย่างได้ง่าย เช่น เส้นใบ ขน ต่อมน้ำมัน เป็นต้น ส่วนขนาดของตัวอย่างที่รวบรวมควรให้พอเหมาะกับกระดาษยาว 16 นิ้วครึ่ง กว้าง 10 นิ้วครึ่ง ที่ติดกาวรองรับเมื่อทำแห้ง หากเป็นพืชสดไม่อาจเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพเดิมได้นาน ก็จะใช้การดองน้ำยาในขวดแก้ว หรือในพาชนะพลาสติก ด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก็จะช่วยรักษาสภาพเดิมได้เป็นอย่างดี
|
|
ตัวอย่างเมล็ดแห้ง ผลแห้ง และตัวอย่างเนื้อไม้แห้งของพืช |
|
|
นอกจากนี้ยังมีห้องเก็บพรรณไม้ต้นแบบ ที่มีความสำคัญสำหรับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักสากลของ กฏการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ พรรณไม้ต้นแบบในประเทศไทยส่วนใหญ่พบว่าเป็นพรรณไม้ต้นแบบคู่ตัวอย่างแรก ซึ่งเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชและหอพรรณไม้ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะที่พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธรที่เป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของประเทศไทยมี พรรณไม้ต้นแบบมากที่สุดในประเทศ คือมากกว่า 900 ชนิด ภายในห้องนี้ต้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิอย่างดีเพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บ รักษาพรรณไม้ต้นแบบอันมีค่าอีกด้วย
|
|
ห้องเก็บตัวอย่าง พรรณพืชในสารเคมี |
|
|
จากนั้นฉันขึ้นต่อไปยัง "ชั้นที่ 3" ที่มีห้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในสารเคมี ห้องรวบรวมตัวอย่างเมล็ดแห้ง ผลแห้ง และตัวอย่างเนื้อไม้ของพืช และห้องที่เก็บรวบรวมงานด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน สมุนไพร เครื่องเทศ รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ไม้เป็นองค์ประกอบ และนอกจากภายในอาคารแล้ว รอบๆตัวอาคารทุกด้านยังมีการปลูกพรรณไม้ให้ความร่มรื่นและสวยงาม อีกทั้งยังเป็นการแสดงตัวอย่างจริงของพวกพรรณไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร เครื่องเทศ และพรรณไม้ยืนต้น เช่น สายหยุด รวงผึ้ง ทองกวาว สมอไทย บานบุรีหอม พลับพลึง มะลิหลวง สร้อยสุมาลี กระดังงาจีน อโศกน้ำ ฝ้ายคำสุพรรณิการ์ พวงแสดต้น เป็นต้น
|
|
ตู้จัดแสดงอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ไม้เป็นองค์ประกอบ |
|
|
ข้อมูลดิบที่สะสมผ่านกาลเวลาเหล่านี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาในด้านอื่นของพืชทั้งในด้านของ ประโยชน์ โทษ ลักษณะทางนิเวศวิทยา วิวัฒนาการของพืช เป็นต้น เรียกได้ว่าที่นี่น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีสำหรับผู้ที่รักและต้องการ เรียนรู้พืชพรรณไม้ของไทย ที่ต่อไปอาจจะสูญหายไปได้หากไม่ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้
|
|
ด้านนอกอาคารทุกด้าน มีการปลูกตัวอย่างพรรณไม้ให้ความร่มรื่นสวยงาม |
|
|
|