สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กีรติ เสริมประภาศิลป์ สร้างอาณาจักรเฟอร์ฯ เอส.พี.เอส. รับออร์เดอร์ อิเกีย 1.8 หมื่นล้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์พิเศษ


ริมถนนสุ วินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ตั้งของบริษัท "เอส.พี.เอส. อินเตอร์เทรด" หนึ่งในเครือข่ายโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่รู้จักกันดีในชื่อกลุ่ม "ส.ประภาศิลป์" บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ล่าสุดอยู่ระหว่างการขยายโรงงานใหม่ เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตสินค้าเฟอร์นิเจอร์ น็อกดาวน์ส่งป้อนให้กับ "อิเกีย" ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งจากประเทศสวีเดน ที่ประกาศแผนเปิดสโตร์ในเมืองไทยด้วยงบฯ ลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท

ณ อาณาจักรกลุ่ม ส.ประภาศิลป์ "ประชาชาติธุรกิจ" มีนัดสัมภาษณ์พิเศษ "กีรติ เสริมประภาศิลป์" ซีอีโอ "เอส.พี.เอส.อินเตอร์เทรด" ในจังหวะที่บริษัทกำลังเติบโตก้าวกระโดดด้วยการเป็นซัพพลายเออร์หลักให้กับ "อิเกีย" ในเมืองไทยและภูมิภาคเอเชีย

"สำหรับโรงงานใหม่ เราใช้เงินลงทุนทั้งหมด 650 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ก้อน คือเป็นค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 300 ล้านบาท กับลงทุนเครื่องจักรใหม่ สั่งเข้ามาจากเยอรมนีกว่า 50 เครื่อง อีก 350 ล้านบาท ตอนนี้อยู่ระหว่างติดตั้งและเซตระบบเครื่องจักร ซึ่งเป็นระบบออโตเมติก คาดว่าจะเริ่มผลิตสินค้าได้ภายในเดือนกันยายนนี้"

เซ็นสัญญา 7 ปี 1.8 หมื่นล้าน

"กีรติ" เล่าย้อนไปว่า การตัดสินใจลงทุนขยายโรงงานใหม่ เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 ทางพันธมิตรที่คบกันมานานกว่า 20 ปี คือ "อิเกีย" ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อสินค้าลอตใหญ่ มูลค่า 18,000 ล้านบาท เป็นเวลา 7 ปี (ปี 2552-2559)

ตัวโรงงานใหม่มีพื้นที่ใช้สอย 14,000 ตารางเมตร ออกแบบเป็นอาคารชั้นเดียว มีความสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้สูงสุด (3 กะ) 3 ล้านชิ้นต่อปี หรือคิดเป็นยอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาท พื้นที่ติดกัน บริษัทได้ก่อสร้างโกดังสินค้าใหม่ขนาด 8,000 ตารางเมตร มีจุดขนถ่ายสินค้า หรือ "ท่าตู้คอนเทนเนอร์" 6 ช่อง

ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวโรงงานและ แวร์เฮาส์ถูกออกแบบไว้ให้สามารถรื้อผนังด้านข้างออกเพื่อขยายพื้นที่ได้อีก เท่าตัว หมายความว่าภายในสัญญา 7 ปี ถ้ามีการ รีวิวกันอีกรอบและพบว่ามีความต้องการสูง บริษัทก็พร้อมจะเพิ่มขนาดโรงงานเป็น 28,000 ตารางเมตร และแวร์เฮาส์เพิ่มเป็น 16,000 ตารางเมตรทันที

"ซัพพลายเออร์หลัก" ผลิตน็อกดาวน์

เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นตู้เสื้อผ้าและ ชั้นวาง ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ทำเงินให้กับอิเกีย โดยมีสัดส่วน 80% ของรายได้รวม เรื่องราคามีการตกลงไว้แล้วตั้งแต่ก่อนเซ็นสัญญา มีเงื่อนไขแบบแฟร์เพลย์ว่า ทุก ๆ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น 5% บริษัทสามารถขอปรับราคาได้ เพื่อรักษาระดับมาร์จิ้น

อย่างไรก็ตาม กว่าที่ "ส.ประภาศิลป์" เดินทางมาถึงจุดนี้ ก็ต้องผ่านเรื่องราวมากมาย โดยหลักไมล์แรกของอาณาจักรธุรกิจเริ่มต้นนับหนึ่งจากการทำเฟอร์ฯประเภท "ตู้โทรทัศน์" (ตู้ไม้สมัยเก่า) ส่งให้กับทีวีแบรนด์ต่าง ๆ เมื่อ 44 ปีก่อน

ต่อ มา เมื่อเทรนด์การผลิตตู้โทรทัศน์เริ่มเปลี่ยนจากตู้ไม้มาเป็นพลาสติก บริษัทจึงต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่มาเป็น ผู้ผลิตเฟอร์ฯแบบ "น็อกดาวน์" (ถอดประกอบ) ภายใต้แบรนด์ "Techna" (เทคน่า) โดยมีดีลเลอร์ทั่วประเทศ 100 รายเศษ

กระทั่งปี 2526-2527 ส.ประภาศิลป์ก็เริ่มต้นรุกตลาดส่งออกเป็นครั้งแรกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยนับเป็นผู้ผลิตเฟอร์ฯแบบน็อกดาวน์รายแรกที่ขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ และจากนโยบายขยายตลาดต่างประเทศ จึงเป็นที่มาของการเข้าไปติดต่อกับ "อิเกีย"

โดยมีความเชื่อว่าในอนาคตอิเกียจะต้องขยายธุรกิจสโตร์จำ หน่ายเฟอร์เจอร์จากยุโรปมายังเอเชียอย่างแน่นอน บวกกับบริษัทมีโนว์ฮาวการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับจากญี่ปุ่นช่วยลดต้นทุน วัตถุดิบ มีน้ำหนักเบา แต่รับน้ำหนักได้ดี น่าจะทำให้อิเกียสนใจ

ใน ที่สุดบริษัทจึงกลายมาเป็นซัพพลายเออร์รายแรกในประเทศไทยที่ผลิตสินค้าให้อิ เกีย และมีการเซ็นสัญญา สั่งซื้อสินค้าบิ๊กลอตเมื่อปี 2551

แน่นอน ว่าดีลนี้ถือเป็นหนึ่งในดีลสั่งซื้อที่มีมูลค่าสูงที่สุดในธุรกิจ เฟอร์นิเจอร์

"อิเกียสโตร์" เปิดเดือน 11 ปี 2011

นอก จากบทบาทการเป็นซัพพลายเออร์หลักให้กับอิเกีย ในขณะเดียวกัน "ส.ประภาศิลป์" ยังมีฐานะเป็นพาร์ตเนอร์ของอิเกียในประเทศไทยด้วย โดย "เอส.พี.เอส.โกลบอลเทรด" คือบริษัทที่ถูกจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจมอลล์ของอิเกียใน ประเทศไทย

"กีรติ" บอกว่า บริษัทดังกล่าวมีเสริมประภาศิลป์เป็นผู้ถือหุ้น 2% ร่วมกับ "IKANO" (อิคาโน่) บริษัท แฟมิลี่บิสเนส ที่เป็นของตระกูล "Ingvar" (อิงวาร์) ผู้ก่อตั้งอิเกียโดยตรง ถือหุ้น 49% และ "สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์" หรือ SF บริษัทชั้นนำในธุรกิจพัฒนาคอมมิวนิตี้มอลล์ ถือหุ้นที่เหลืออีก 49%

ทั้ง นี้ "อิเกียสโตร์" มีเครือข่ายที่เปิดแล้ว 285 สโตร์ใน 36 ประเทศทั่วโลก แต่ละปีมีลูกค้าเข้า-ออก 630 ล้านคน มียอดขายรวม ณ ปี 2551 เท่ากับ 22,000 ล้านยูโร ที่ผ่านมา การลงทุนเปิดสโตร์จะมี 3 รูปแบบ คือ ผ่านคอร์ปอเรตอิเกีย, ขายแฟรนไชส์ และลงทุนผ่านบริษัทอิคาโน่ ซึ่ง 100% เป็นของครอบครัว Ingvar โดยตรง

กรณีเมืองไทย ที่อิเกียเข้ามาลงทุนโดยบริษัทอิคาโน่ จึงเท่ากับเป็นการสะท้อนว่า อิเกียมีความมั่นใจในศักยภาพตลาดเมืองไทยมาก

ความคืบหน้าล่าสุด อยู่ระหว่างการรับสมัครพนักงาน และกำหนดเปิดให้บริการส่วนอิเกียสโตร์ภายในเดือน 11 ปี 2011

โครงการ ประกอบด้วยสโตร์จำหน่าย สินค้าพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ใช้งบฯลงทุน 3,000 ล้านบาท และคอมมิวนิตี้มอลล์ภายใต้ชื่อโครงการ "เมกะบางนา" ใช้งบฯลงทุน 10,000 ล้านบาท

เฉพาะในส่วนของ "อิเกียสโตร์" ทางอิเกียประเมินว่า หลังจากเปิดบริการสโตร์สาขาแรก จะมีลูกค้าแวะช็อปปิ้งอย่างต่ำ 120,000 คนต่อวัน หรือปีละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และมีรายได้ปีละประมาณ 1,400 ล้านบาท

view