สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการไขความจริงหมุดGPSสันเขื่อนห้วยเมฆา

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์






ติง พันธมิตรฯ-เครือข่ายทวงคืนแผ่นดินฯ หมุดเขื่อนห้วยเมฆาใช้ดาวเทียมตรวจสอบตาม"ทฤษฎีมุมสามเหลี่ยม" ห่างหลักแดน 6.5กม. ชี้ทหารอ่อนพีอาร์

เนื่องจากปรากฏตามข่าววันศุกร์ ที่ 2 กรกฎาคม 2553 ทาง ASTV รายการคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ความโดยสรุปว่า มีประชาชนพบหลักหมุด GPS ไทย-กัมพูชา ของกรมแผนที่ทหาร ติดตั้งอยู่ที่สันเขื่อนห้วยเมฆาจังหวัดบุรีรัมย์ ตามข่าวแจ้งว่าตำแหน่งล้ำเข้ามาในเขตประเทศไทยห่างจากแนวเส้นเขตแดนปัจจุบัน ถึง 12.5 กิโลเมตร เมื่อประชาชนในท้องที่แสดงความไม่พอใจ และสงสัยต่อการปักหลักหมุดดังกล่าว ก็มีพฤติกรรมน่าสงสัยยิ่งขึ้น เช่น การขูดลบ- เปลี่ยนแก้ข้อความ และสุดท้ายก็มีการเทลาดทับด้วยยางมะตอยทำถนน

ชาวบ้านจึงนำเรื่องร้องเรียนต่อหลาย ฝ่ายจนความมาถึง ASTV และเป็นข่าวใหญ่ขึ้นมา ลักษณะว่าจะมีการแก้แนวเส้นเขตแดนรุกล้ำประเทศไทยเข้ามาเป็นแนวเส้นตรงตลอด แนวชายแดนอิสานใต้ ต่อเนื่องไปถึงชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด สร้างความวิตกกังวลแก่ประชาชนโดยทั่วไป

วันต่อมา(3 ก.ค.) ผมได้รับเชิญ ASTV ไปออกอากาศกรณีที่ผมได้ค้นพบหลักฐานใหม่เพื่อการต่อสู้แสดงสิทธิการเป็นเจ้า ของผู้ครอบครองบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ร่วมรายการกับประชาชนผู้พบหลักหมุดเขตข้างต้นชื่อ คุณปราโมทย์ หอยมุกข์ และต่างก็ได้ชี้แจงข้อมูลที่ต่างก็ได้ค้นพบแต่ละฝ่ายกันมาออกอากาศต่อสาธารณ ชน    

ในระหว่างการนำเสนอผมรู้สึกแปลกใจ กรณีการเสนอข่าวพบหมุดดังกล่าวหลายหมุด มีแนวเส้นตรงตัดผ่านกลางหมู่บ้านชาวไทยในปัจจุบัน ซึ่งถ้ามีการจัดแนวเขตแดนขึ้นดังกล่าวย่อมจะเกิดความเดือดร้อนยิ่งและขัดต่อ แนวทางปฏิบัติที่จะยากเกิดขึ้นได้ แต่ในขณะออกอากาศผมก็ไม่อยู่ในสถานะจะคัดค้านท้วงติงตามความรู้สึกของสามัญ สำนึกโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับในขณะนั้น

เมื่อกลับมาถึงบ้านจังหวัดกาญจนบุรี แล้ว ผมได้หาโอกาสติดต่อสอบถามข้อมูลเรื่องข้างต้นนี้กับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งผมบังเอิญได้รู้จักระหว่างงานประชุมกันเกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหาร ได้รับข้อมูลเบื้องต้น มาดังนี้

1.หมุดหลักเขตที่พบในเขตไทยรวมทั้งที่ สันเขื่อนห้วยเมฆานั้น เป็นหลักประกอบการยืนยันแสดงตำแหน่งตัวหลักเขตตัวจริง ซึ่งอยู่บริเวณสันเขาหน้าผาชายแดนใน "ทฤษฎีกฏของสามเหลี่ยม" ทางเลขาคณิต ซึ่งจะใช้ตรวจค้นหาหลักเขตชายแดนได้ในกรณีถูกเคลื่อนย้ายตำแหน่งหรือสูญหาย โดยตรวจจับสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมอิงอาศัยตำแหน่งกันและกัน หลักชุดนี้จึงอยู่ในเขตปลอดภัยฝั่งไทย

2.มีการชี้แจงต่อชาวบ้านมาบ้างแล้ว การชี้แจงยังไม่เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งระบบการชี้แจงยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อจำนวนประชากรที่มีผล กระทบ

3.ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด คือ การบันทึกถาวรลงบนหัวหลักคอนกรีตว่า "เขตแดนไทย-กัมพูชา" ซึ่งย่อมสื่อความหมายต่อผู้พบเห็นตามสามัญสำนึกปกติว่า "ที่ตรงนี้คือแนวเขตแดนประเทศทั้งสองที่ปรากฏชื่อบนหลัก"

4.ฝ่ายทหารเริ่มตระหนักในข้อผิดพลาดข้อ ความหัวหลักดังกล่าว จึงได้ขูดลบแก้ไขแต่กลับปรากฏให้เกิดปฏิกิริยาทางลบมากยิ่งขึ้น เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ ยิงมีการกลบทับด้วยยางมะตอยทำถนนนั้น ตามข่าวฝ่ายทหารปฏิเสธการกระทำดังกล่าว และสันนิษฐานว่าเป็นกิจกรรมของหน่วยงานราชการอื่น ซึ่งเป็นการกระทำยิ่งให้เกิดความสงสัยในทางลบ เป็นพิรุธต่องานทางราชการหนักยิ่งขึ้นไปอีก ประกอบกับการขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพียงพออย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกพื้นที่

5.ผมได้ชี้แจงข้อมูลนี้ต่อ ASTV ไปแล้ว และหวังในการแก้ไขชี้แจงข่าวดังกล่าวด้วย แต่แม้ว่าท่านนายกรัฐมนตรี ต้องออกมาแก้ไขข่าวด้วยตนเอง (ผมไม่ได้รับฟังการแถลงนี้ด้วยตนเอง เป็นแต่ได้รับข้อมูลถ่ายทอดมา) ประชาชนก็ยังไม่เข้าใจ และยังหวาดระแวงภัยกันอยู่

6.ระยะทางจากสันเขื่อนห้วยเมฆาถึงแนว เขตแดนตามข่าวแจ้งไว้ว่ามีระยะทาง 12.5 กิโลเมตรนั้น ผมตรวจสอบพบว่าน่าจะความเข้าใจผิดด้วย เพราะระยะทางตามแผนที่ 1 ต่อ 50000 L.7018 มีระยะห่างประมาณ 6.5 กิโลเมตร ตามสำเนาแผนที่แนบมาพร้อมนี้

7.เพื่อแก้ไขป้องกันข้อผิดพลาดการ ปฏิบัติงานของกรมแผนที่ทหาร ด้านการใช้ภาษาราชการบันทึกลงหลักฐานทางการต่าง ๆ ตลอดจนระบบการชี้แจงประชาสัมพันธ์ต่อประชาชน โดยเฉพาะสื่อต่าง ๆ ควรจะมีการตรวจสอบป้องปรามโดยกรรมาธิการรัฐสภาฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

8. วันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ผมได้พยายามประสานงานกับหัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ปัญญา จารุศิริ โดยได้ส่งข้อมูลภาพถ่ายและแผนที่แสดงตำแหน่งที่พบเพื่อการตรวจสอบระบบการทำ งานเครือข่ายสามเหลี่ยม GPS ได้รับคำอธิบายทางโทรศัพท์ ความโดยสรุป ดังนี้ :-

    8.1 การใช้หลักหมุดเพื่อการตรวจความถูกต้องของหลักเขตที่อยู่ตามแนวชายแดนนั้น ใช้หมุดตัวที่สาม  สำหรับตรวจสอบตัวที่เป็นหลักชายแดนเป็นรูปสามเหลี่ยม จึงมีแนวหมุดอีกแนวหนึ่งอยู่ขนานแนวหลักเขตแดนตามแนวสันปันน้ำเป็นแนวหลัก หมุดสำหรับตรวจสอบอยู่ในฝั่งไทย ทางฝ่ายกัมพูชาถ้าต้องการตรวจสอบก็จะมีหมุดตรวจสอบอยู่ทางฝั่งเขาได้ใน ลักษณะเดียวกัน ทำให้ต่างก็จะสามารถตรวจสอบหมุดหลักเขตตัวที่ใช้เป็นเขตแดนได้
    8.2 ชาวกัมพูชาสามารถฟังภาษาไทยและอ่านอักษรไทยได้ ถ้าพบเห็นข้อความในหมุดระบุว่า "เขตแดนไทย-กัมพูชา" ก็ย่อมเข้าใจเช่นเดียวกับคนไทยว่า  "ที่นี่คือเขตแดน......” และยึดถือรุกล้ำพื้นที่ด้วยความเข้าใจผิดได้
    8.3 การใช้ระบบใหม่ที่ชาวบ้านยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ ระบบงานเทคโนโลยีชนิดใหม่ ๆ ควรจะต้องใช้อักษร-ภาษาโดยความรอบคอบป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อน
    8.4 สำหรับหลักหมุดชุดนี้ได้ร่วมกันพิจารณาอักษรถ้อยคำบันทึกบนหัวหมุดร่วมกับผม แล้ว น่าจะใช้คำว่า "หมุดตรวจสอบ" ประกอบการชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจต่อสาธารณชน
    8.5 ศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่ประกาศใช้ในงานแผนที่นั้น ควรมีการตรวจสอบพิจารณาถึงความหมายของคำโดยรอบคอบอีกด้วย

9. เพื่อช่วยมิให้เกิดความเข้าใจอคติต่อบางหน่วยงานของรัฐที่ประชาชนเคยมี สะสมมาแต่เดิม และรับฟังได้ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น ผมและอาจารย์ปัญญา ในสถานภาพนักวิชาการที่เกี่ยวข้องยินดีไปให้คำอธิบายต่อสื่อต่าง ๆ หรืออาจจะให้ทางสื่อโทรศัพท์มาสัมภาษณ์ก็เป็นไปได้ ซึ่งจะทำความเข้าใจในการดำเนินงานของรัฐต่อประชาชนได้ชัดเจนขึ้น และน่าจะทำให้ลดความหวาดระแวงลงในที่สุด

ทั้งนี้ กรมศิลปากรเคยใช้วิธีนี้ได้ผลดีมาก่อนหน้าแล้ว สามารถแก้ปัญหากรณีราษฎรไม่เชื่อในกิจกรรมข้าราชการ  เช่น กรณีพระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี หรือกรณีวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เป็นต้น โดยจัดสัมนาในท้องที่และให้มีนักวิชาการที่เชื่อถือร่วมสัมมนา

วีรพันธ์ มาไลยพันธ์
อดีต คณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
7 กรกฎาคม  2553


นายปราโมทย์ หอยมุกข์ กับ นายศรีเมือง วัฒนาชีพ

แผนที่แสดงแนวเขาพนมดองแร็ก ห่างจากจุดเขื่อนหวยเมฆา

แผนที่เขาพระวิหาร แสดงแนวตามแผนที่ 1 : 2 แสน

Tags : นักวิชาการ ไขความจริง สันเขื่อนห้วยเมฆา

view