จากประชาชาติธุรกิจ
ความ พยายามทางการเมือง ของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ คือการก้าวข้ามรัฐประชานิยมไปสู่รัฐสวัสดิการ
ก้าว ข้ามต้นตำรับ "ทักษิโณมิกส์" สู่ระบบ "มาร์ค-กรณ์-อานันท์"
จากระบบ ขับเคลื่อน 2 ทาง เป็นขับเคลื่อน 3 ทาง
นโยบายถูกแปลงเป็นแผนงาน มาตรการ ที่ทั้งทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย และสมัชชาปฏิรูป ขับเคลื่อนพร้อมกัน 3 ทาง
ทางหนึ่งขับเคลื่อนโครง สร้างใหญ่ของประเทศ มี "นายอานันท์ ปันยารชุน" ประธานคณะกรรมการปฏิรูปขับเคลื่อน-ควบคู่จุดคานงัด-สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ "น.พ.ประเวศ วะสี"
ทางหนึ่งขับเคลื่อนผ่านทีมที่ปรึกษานายก รัฐมนตรี โดย "คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์" และ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ปฏิบัติการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้าน รายได้ และโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน- ที่ทำกิน ทั้งรูปแบบปรับโครงสร้างภาษี ระบบภาษีที่ดิน และโฉนดชุมชน
ทาง หนึ่งขับเคลื่อนโดย "กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการจัดทำมาตรการ "การคลังเพื่อสังคม"
ดังนั้นกว่าจะถึงการเลือก ตั้งใหญ่สมัยหน้า รัฐบาลต้องเตรียมต้นทุนสำหรับการจ่ายงบประมาณเพื่อการเตรียมตัวเป็น "รัฐสวัสดิการ" อย่างเต็มรูปแบบ
โดยใช้โครงร่างของมาตรการ ประชานิยมเป็นตัวเชื่อมต่อ-พัฒนานโยบายเป็นรัฐสวัสดิการ
ย้อนไป เมื่อครั้งแรกที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ร่วมเสพสมกับนโยบายประชานิยม เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2552-31 มีนาคม 2553 ใช้เงินอุดหนุนไปแล้ว 26,520.58 ล้านบาท อาทิ เพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าครัวเรือน 16,035.89 ล้านบาท
ลดค่าใช้ จ่ายการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง 2,875.38 ล้านบาท
ลดค่าใช้จ่าย การเดินทางโดยรถไฟชั้นสาม 1,161.93 ล้านบาท
ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของ ครัวเรือน 6,447.38 ล้านบาท
ต่อเนื่องด้วยมติคณะรัฐมนตรี 29 มิถุนายน 2553 อุ้มประชานิยมไปต่อยอดสวัสดิการอีก 9,254.37 ล้านบาท
แบ่ง เป็นอุดหนุนค่าไฟฟ้า 7,465.31 ล้านบาท
ค่าเดินทางรถ ขสมก. อีก 1,259.36 ล้านบาท
ค่าเดินทางรถไฟชั้นสามอีก 530 ล้านบาท
ไม่ นับรวมมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานที่จะมีต่อเนื่องไปจากกันยายน 2553-กุมภาพันธ์ 2554 ใช้งบประมาณอีก 21,620 ล้านบาท
เพื่อ ตรึงราคาขายปลีก LPG ในระดับราคา 18.13 บาท/กิโลกรัม ใช้งบประมาณ 13,224 ล้านบาท
ตรึงราคาขายปลีก NGV โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชย 2 บาท/กิโลกรัม รวม 2,400 ล้านบาท
มาตรการตรึงค่า Ft จนถึงสิ้นปี ใช้เงิน 5,996 ล้านบาท
ต้นทุนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในการ รับไม้ต่อจากรัฐบาล "สมัคร-สมชาย" ในการต่ออายุมาตรการผลกระทบด้านพลังงานในช่วงที่ผ่านมา 1 ปี (สิงหาคม 2552-สิงหาคม 2553) ใช้งบประมาณไปแล้ว 32,681 ล้านบาท
เพื่อเป็นการ ชดเชยนำเข้า LPG รวม 20,795 ล้านบาท ตรึงราคา NGV อีก 1,733 ล้านบาท และตรึงค่า Ft อีก 10,153 ล้านบาท
เฉพาะช่วงที่รัฐบาลอภิสิทธิ์รับ ช่วงมาตรการประชานิยมเพียงปีเศษ ๆ ทำให้รัฐบาลต้องจ่ายงบประมาณชดเชยไปแล้ว กว่า 900,071.95 ล้านบาท
ยังไม่นับรวมมาตรการดั้งเดิม สูตรต้นตำรับ "ทักษิโณมิกส์" ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์รับมรดกมาดำเนินการอีกหลายแพ็กเกจ อาทิ การแก้ไขและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ทั้งเกษตรกร แรงงานนอกภาคเกษตร เด็ก ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ
ผ่านการจัด ตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 5,376.630 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงิน 21,963 ล้านบาท โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม. เชิงรุก) โดยรัฐบาลได้จ่ายค่าตอบแทนไปแล้ว 3,515.83 ล้านบาท
โครงการที่พรรค ประชาธิปัตย์คิดค้น แตกกอต่อยอดขึ้นด้วยตัวเองคือ โครงการประกันรายได้เกษตรกร และการนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร มีเป้าหมายดำเนินการต่อเนื่องจำนวน 50,000 ไร่ ส่วนบรรดาโครงการเรียนฟรี 15 ปี โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาท รักษาทุกโรค ก็ถูกนำมาพัฒนา-ต่อยอดเพิ่มเป็นหลักประกันสุขภาพ จากเดิม 1,300 บาท เพิ่มเป็น 1,695 บาท/คน
นอกจากนี้ยังมีการ แจก-ทางตรง ฮาร์ดคอร์ในโครงการเช็คช่วยชาติ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประเดิมไป 17,903 ล้านบาท
ด้วยภารกิจ-งบ ประมาณที่ท่วมท้น แต่ละปี ทำให้ทั้งนายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คิดการใหญ่ ขับเคลื่อน 3 ทาง
ทางหนึ่ง เตรียมจัดทำนโยบาย-มาตรการ "การคลังเพื่อสังคม" หวังให้ชนชั้นล่างทั่วทั้งประเทศได้รับผลโดยตรงจากความเป็น "รัฐสวัสดิการ" แบบตรงไป-ตรงมา-โปร่งใสด้วยการรับบริการพื้นฐาน "ฟรีถ้วนหน้า" ตลอดไป ทั้งค่ารถเมล์-รถไฟชั้น 3 และค่าไฟฟรีแบบมีเพดานกำกับ
พร้อมด้วย มาตรการ "ลดราคาน้ำมัน" ลงอีก 2 บาทต่อลิตร อยู่ในระหว่าง "พิจารณา" ต่อยอดเมื่อจังหวะเวลาที่ เหมาะสม และเตรียมปรับโครงสร้างราคาก๊าซใหม่ทั้งระบบ
ทางหนึ่งเตรียมจัดหา "รายได้มหาศาล" เพื่อสนับสนุนต้นทุน-ค่าใช้จ่าย เพื่อความเป็นรัฐสวัสดิการ
รวม ทั้งโครงการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดิน รวมทั้งภาษีจากธุรกิจการเงินในห้องค้าหุ้น ก็ถูกจัดข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นมาตรการ "การคลังเพื่อสังคม" ในอนาคต
นอก จากรายจ่ายต้นทางเพื่อสร้างเส้นทางไปสู่รัฐสวัสดิการแล้ว รัฐบาลยังมี ภาระรายจ่ายเฉพาะหน้าในแนวทาง ประชานิยมอีกไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท เพื่อ "ซื้อใจ" ข้าราชการ 1.2 ล้านคนทั่วประเทศ ในการปรับขึ้นเงินเดือนและ จ่ายโบนัสรายละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารของรัฐที่ ต้องจัด งบประมาณเพื่ออุดหนุนเกษตรกรให้ "ล้างหนี้" อีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านราย ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย-ออมสิน ก็ต้องเข้าร่วมโครงการ "แก้หนี้นอกระบบ"
บรรดาผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจาก SME Bank เฉพาะหน้าที่จ่าย ไปแล้ว จำนวน 5,034,106 ราย วงเงิน 1,168,411 ล้านบาท
โครงการ สินเชื่อ SME Power อีก 4,836.34 ล้านบาท และมาตรการสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว วงเงิน 3,124.85 ล้านบาท ผู้ที่ถูกชะลอการเลิกจ้างแรงงานจะได้เงินชดเชย 13,448.62 ล้านบาท โครงการบริการรับประกันการส่งออกมีปริมาณการรับประกันเท่ากับ 60,375 ล้านบาท และการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs มียอด ค้ำประกันสินเชื่อ 21,390.07 ล้านบาท
ในนามของนโยบาย "รัฐสวัสดิการ" ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ดังนั้น "อภิสิทธิ์" และคณะจึงมีโครงการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต โดยเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555 กรอบวงเงินลงทุนภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 รวม 1.43 ล้านล้านบาท
โดย มีโครงการขนาดใหญ่ เช่น การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน วงเงินรวม 20,232.9 ล้านบาท การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทาน วงเงินรวม 17,224 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสาย สีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินรวม 785 ล้านบาท
ทั้ง "มาร์ค" และ "กรณ์" ไม่ลืมว่ายังมีบัญชีเงินคงคลังของประเทศเฉพาะหน้า ล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2553 มีอยู่ถึง 1.88 แสนล้านบาท ทั้งจากการเก็บรายได้ที่เกินเป้า และ "กำไร" จากการยึดทรัพย์ "ทักษิณ ชินวัตร" และครอบครัวอีก 4.9 หมื่นล้าน ยิ่งทำให้รัฐบาลสามารถ นำเงิน "ล่วงหน้า" มาใช้เป็น "ต้นทุน" หาเสียงล่วงหน้าได้อีกก้อน
ความ พยายามของ "อภิสิทธิ์และคณะ" ที่ต้องการก้าวข้าม "ประชานิยม" สู่ "รัฐสวัสดิการ" กำลังถึงฝั่งฝัน ?
ตามนิยามของ "ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์" ต้นตำรับ "รัฐสวัสดิการก้าวหน้า" ที่เชื่อมั่นว่า "เป็นระบบที่กระตุ้นให้คนอยากทำงานมากขึ้น อยากมีการศึกษาที่ดีขึ้น ...ไม่ใช่สวัสดิการแบบที่จะทำให้คนนั่งกินนอนกินไม่ยอมทำงาน"
"ดร.เอนก" วิพากษ์แนวทาง "ประชานิยม-ทักษิณ" ว่า "มุ่งสร้างความสัมพันธ์เชิงดิ่งระหว่างผู้ที่อยู่เหนือกว่ากับผู้ที่อยู่ต่ำ กว่าเป็นหลัก ประชาชนจึงไม่ได้คิดว่าตัวเองนั้นอยู่ในระดับเดียวกับรัฐบาล ในขณะที่ระบบรัฐสวัสดิการนั้นเกิดจากแนวความคิดที่มองว่าสวัสดิการที่ได้มา นั้นเกิดจากการ ยื้อแย่งมาจากคนส่วนบน"
ต้องจับตาว่า มาตรการแผนงานของรัฐบาล "อภิสิทธิ์"
ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป ประเทศ "อานันท์"
และจุดคานงัดสังคมไทยของ "น.พ.ประเวศ"
ผนวก กับ "การคลัง-ภาษีเพื่อสังคม" ของ "กรณ์"
ท้าทายให้ฝ่ายเพื่อ ไทย-เสื้อแดงพิสูจน์ว่า ทั้งองคาพยพนี้จะนำประเทศก้าวข้ามจากรัฐประชานิยมสู่รัฐสวัสดิการได้หรือไม่ ผลการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นคำตอบ