สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รุมสวดกฤษฎีกาตีความสมาร์ทการ์ดไม่ดูเจตนารมย์

จาก โพสต์ทูเดย์

ข้าราชการมหาดไทยฉุน กฤษฎีกาตีความสมาร์ทการ์ดตามตัวอักษร    ระบุหากตีความตามแบบนี้บัตรประชาชนทุกรุ่น 49 ล้านบัตรจะใช้ไม่ได้ทันที 

ผู้สื่อข่าวรายว่า ผลจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าบัตรประชาชนจำนวน 6 แสนใบ  และบัตรประชาชนล็อตปี 2550  ขัดกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 22 นั้น  ได้สร้างความแปลกใจให้กับข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่ดูแลเรื่องบัตรประชาชนมาตลอดเป็นอย่างมาก   โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการวินิจฉัยตามอักษรเท่านั้นโดยไม่ดูเจตนา รมย์ของกฎหมาย  

ข้าราชกระทรวงมหาดไทย  ได้มีการจัดทำเอกสารในเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า   หากตีความข้อกฎหมายตามตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเหมือนที่คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยที่ระบุว่าให้บัตรประชาชนมีสีขาว  สีฟ้า  โดยไม่พิจารณาถึงอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานออกบัตรตามพระราชบัญญัติบัตรประจำ ตัวประชาชนพ.ศ.2526  ที่ระบุให้เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจและหน้าที่ที่จะกำหนดวัสดุบัตรและวัสดุ เคลือบบัตร เพื่อให้วัสดุดังกล่าวมีคุณสมบัติหรือมีคุณลักษณะเพื่อให้สามารถป้องกันการ ปลอมแปลงได้ตามหลักการและเจตนารมณ์แห่งกฎกระทรวงแห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำ ตัวประชาชน  ก็จะพบว่าบัตรประจำตัวประชาชนทุกุร่นที่ผลิตมาล้วนแล้วแต่ผิดกฎกระทรวงทั้ง หมด 

เอกสารระบุว่า    บัตรสมาร์ทการ์ดทั้ง 6 แสนใบนี้ ไม่ใช่ล็อตแรกที่มีการทำผิดกฎกระทรวง เพราะบัตรประชาชนในรุ่นก่อนๆ ที่ผ่านมา พบว่า บัตรประชาชนทุกรุ่นที่ผลิตออกมา ก็ไม่ได้ออกตรงตามเนื้อความแห่งกฎกระทรวงทั้งหมด เช่น บัตรประชาชนที่ออกในช่วงหลัง พ.ศ.2486 ตามกฎกระทรวงระบุว่า ตัวหนังสือ ตราครุฑ และตราประจำตำแหน่ง จะต้องเป็นตัวหนังสือสีดำ ไม่มีเส้นประใต้วันออกบัตรและวันหมดอายุ แต่บัตรที่ผลิตออกมา ตราครุฑ ตราประจำตำแหน่ง และตัวอักษร กลับกลายเป็นสีน้ำเงิน รวมทั้งมีเส้นประใต้วันออกบัตรและวันหมดอายุ 

บัตรประชาชนรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นบัตรพลาสติกภาพสี ตามท้ายกฎกระทรวงไม่ได้กำหนดให้มีคำว่า “กรมการปกครอง” และตัวหนังสือตราครุฑจะต้องเป็นสีดำ แต่บัตรที่ผลิตออกมาใช้งาน กลับมีคำว่า “กรมการปกครอง” เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเป็นสีเหลืองจำนวน 5 แถว พร้อมกับด้านหลังบัตรมีตัวหนังสือ ตราครุฑ และตราประจำตำแหน่งเป็นสีฟ้า แทนที่จะเป็นสีดำตามที่กฎกระทรวงระบุ

บัตรประชาชนรุ่นที่ 4 บัตรรุ่นแถบแม่เหล็ก บัตรประชาขนที่ผลิตออกมา มีสัญลักษณ์รูปสิงห์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.402 นิ้ว มีตราประจำตำแหน่งเป็นสีแดง ตราครุฑเป็นสีม่วง ซึ่งแตกต่างจากท้ายกฎกระทรวงมหาดไทยที่ไม่ได้ระบุให้มีรูปสิงห์ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 1.402 นิ้ว แต่ให้มีตราประจำตำแหน่งสีดำ ครุฑเป็นสีดำ

และบัตรรุ่นที่ 5 แบบสมาร์ทการ์ด แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 12 ล้านใบ ซึ่งออกตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ.2547 บัตรที่ผลิตออกมา มีตราประจำตำแหน่งสีแดง ตัวหนังสือไทยบางส่วนเป็นสีน้ำเงิน ตัวหนังสือภาษาอังกฤษเป็นสีน้ำเงิน ชิพเป็นสีเหลือง โฮโลแกรมเป็นสีเหลืองธงชาติเป็นสีแดงขาวน้ำเงินแต่ตามท้ายกฎกระทรวง ระบุให้ตราประจำตำแหน่งเป็นสีดำ ตัวหนังสือไทยและอังกฤษเป็นสีดำ ชีพเป็นสีดำและขาว ธงชาติเป็นสีขาวดำ

ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 26 ล้านใบ เป็นบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน ออกตามกฎกระรทวงฉบับที่ 22 พ.ศ. 2550 โดยบัตรที่ผลิตออกมามีตราประจำตำแหน่งเป็นสีแดง ตัวหนังสือไทยบางส่วนเป็นสีน้ำเงิน ตัวหนังสือภาษาอังกฤษเป็นสีน้ำเงิน ชิพเป็นสีเหลือง ขอบวงกลมรอบครุฑเป็นสีแดง โฮโรแกรมเป็นสีเงินออกทอง ธงชาติเป็นสีแดงขาวน้ำเงิน มีพระบรมหาราชวังด้านหน้าและหลัง  แต่ตามท้ายกฎกระทรวง มีตราประจำตำแหน่งเป็นสีดำ ตัวหนังสือไทยและอังกฤษเป็นสีดำ ชิพเป็นสีดำและขาว โฮโรแกรมเป็นสีดำและขาว ธงชาติเป็นสีขาวดำ ไม่มีพระบรมหาราชวังด้านหน้าและหลัง ส่วนระยะที่ 3 จำนวน 26 ล้านใบ ออกตามกฎกระรทวงฉบับที่ 22 พ.ศ. 2550 ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดซื้อ

“หากตีความตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ แสดงว่าบัตรที่ใช้ในปัจจุบันที่ทำให้ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยจำนวน 49 ล้านบัตร จะใช้ไม่ได้ ซึ่งไม่เฉพาะบัตรรุ่นสมาร์ทการ์ดเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงบัตรประชาชนทุกรุ่นที่เคยผลิตมา ดังนั้น การตีความตามรูปแบบบัตรควรตีความตามอักษร และเจตนาไปพร้อมๆกัน โดยในเรื่องบัตรนั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายระบุว่าเพื่อความมั่นคงของประเทศ และของประชาชนต้องมีการกำหนัดวัตถุป้องกันการปลอมแปลงให้มีประสิทธิภาพและ ทันสมัย ที่สำคัญจะต้องทำให้เหนือกว่ามือมิจฉาชีพ  ทำให้กฎหมายมอบอำนาจให้แก่เจ้าพนักงานออกบัตร คืออธิบดีกรมการปกครอง เป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดระบบป้องกันและปลอมแปลงให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมาย” เอกสารระบุ

ด้าน นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า  เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ของทั้งสอง  คือ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  จะหารือกันถึงทางออกของปัญหา ส่วนการแก้ไขกฎกระทรวงมหาดไทยนั้น ตนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติงาน จึงไม่สามารถออกความเห็นได้ อย่างไรก็ตามภาพรวมของบัตรโดยเฉพาะเส้นสีแดง (Micro text)เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเพราะเป็นการป้องกันการปลอมแปลงก็ควรมีการแก้กฎ กระทรวงเพื่อให้สอดคล้องกับบัตรที่จัดไว้ 

Tags : กฤษฎีกา ตีความ สมาร์ทการ์ด ไม่ดูเจตนารมย์

view