สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิจัยทุจริตประพฤติมิชอบ ช่องทางโกงกรมทางหลวง

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1
ชื่อรายงานการวิจัย     โครงการศึกษาวิจัยการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานราชการไทย : กรณีศึกษากระทรวงคมนาคม
ชื่อนักวิจัย                นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป และคณะ
หน่วยงานวิจัย           สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
แหล่งทุนวิจัย            สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1
สถานภาพ                โครงการที่ทำเสร็จแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2547

บทคัดย่อหรือบทสรุปผู้บริหาร


    การศึกษาวิจัยเรื่องการทุจริตและประพฤติชอบในหน่วยงานราชการไทย : กรณีศึกษากรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เรื่อง ช่องทางคอร์รัปชันในกรมทางหลวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้รับมอบหมายจากจาก คณะทำงานติดตาม และตรวจสอบปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ตป.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เป็นที่ปรึกษาในการศึกษา วิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม – เดือนพฤศจิกายน 2547
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ศึกษาปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบในขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานในทุกกิจกรรมที่ข้าราชการ กรมทางหลวงรับผิดชอบ
2. สร้าง “แบบจำลอง” ของพฤติกรรมที่นำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการกรมทางหลวง เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ เปิดโปงต่อสาธารณชน
3. เสนอแนะแนวทางและวิธีการ ตลอดจนรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ ในกรมทางหลวง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
วิธีการวิจัยประกอบด้วย
1. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และเวทีเสวนา จำนวน 4 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม จำนวน 99 ราย ประกอบด้วย ข้าราชการกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวง, ผู้ประกอบการ, ผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคม, นักวิชาการ และสื่อมวลชน
2. การสัมภาษณ์เจาะลึก (In–depth Interview) จำนวน 33 ราย ประกอบด้วย
นักการเมือง, นักธุรกิจ, ข้าราชการทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ, นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ
3. การค้นคว้าเอกสาร (Document Research) จากตำรา, เอกสารวิชาการ, ข่าวหนังสือพิมพ์, ข่าวจาก Website, บทความกึ่งวิชาการ และเอกสารทางราชการ จำนวนประมาณ 320 ชิ้น
4. การสังเคราะห์กรณีศึกษาพิเศษ (Case Study) จำนวน 6 กรณี
บทสังเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการป้องกันแก้ไข คณะวิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบการคอร์รัปชันในกรมทางหลวง โดยจำแนกเป็น 6 ขั้นตอน ตามลักษณะการดำเนินงานของหน่วยงาน และได้เสนอมาตรการและแนวทางในการป้องกันและแก้ไข ดังนี้ :-
 
ประเด็นปัญหา     มาตรการป้องกัน/เฝ้าระวัง    มาตรการแก้ปัญหา       
1.ขั้นออกแบบและเสนอโครงการ
? การปั้นโครงการขึ้นมาโดยเบื้องหลังมีผลประโยชน์แอบแฝงและไม่มีเหตุผลรองรับทางวิชาการ
? กำหนดวิธีประมูลงานที่เปิดช่องให้คอร์รัปชัน
? จงใจออกแบบหรือร่างสัญญาให้กำกวม เพื่อเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจหน้าที่และการเรียกรับผลประโยชน์
? ล็อคสเป็คบริษัทที่ปรึกษาเพื่อให้เครือข่ายของตนและพวกพ้องได้เปรียบ
? ล็อคสเป็คผู้รับเหมา และลำเอียงเข้าข้างพวกพ้อง
? ล็อคสเป็คอนุญาโตตุลาการ เพื่อกรณีที่มีปัญหาภายหลังจะได้เข้าข้างพวกพ้อง
? สร้างความโปร่งใสให้สาธารณชนรับรู้ข้อมูลล่วงหน้า สร้างกระบวนการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
? ดูแลการกำหนดวิธีประมูลให้เป็นไปตามมติ ครม.และระเบียบของทางราชการ
? ให้สภาทนายความ หรือองค์กรวิชาชีพ มีส่วนร่วมตรวจสอบแบบและสัญญา
? บริษัทที่ปรึกษาควรผ่านความเห็นชอบจากหลายกระทรวง ต้องผ่านความเห็นชอบจากองค์กรวิชาชีพและต้องผ่านความเห็นชอบ จากเครือข่ายประชาชนหรือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
? ควรกำหนดให้ผู้รับเหมามีผลงานไม่เกิน 1 ใน 3 ของงบประมาณก่อสร้าง โดยทั้งนี้ให้กำหนดขั้นสูงไว้เลยว่าไม่เกิน 300 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยได้มีโอกาสได้เติบโต ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงวงเงินได้ทุก 4 ปี
? ในการกำหนดสเป็คด้านเทคนิคและเครื่องมืออย่างตายตัว ควรจะต้องมีข้อยกเว้นให้ผู้รับเหมาสามารถจ้างหรือเช่าเครื่องมือจากที่อื่นได้
? ควรขยายจำนวนอนุญาโตตุลาการให้มีมากขึ้น และมีองค์ประกอบจากหลากหลายอาชีพ เช่น วิศวกร นักกฎหมาย และผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม และควรกำหนดให้มติของอนุญาโตตุลาการต้องใช้เสียง 2 ใน 3 รวมทั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายรัฐต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของตนเองและครอบครัว และห้ามมีผลประโยชน์ทับซ้อน
? กรณีที่ยังไม่มีการใช้งบประมาณ ให้สามารถปรับลดโครงการให้เหลือตามความจำเป็น หรือยกเลิกได้ในกรณีที่ไม่จำเป็น
? หากใช้งบประมาณแล้ว ต้องควบคุมการก่อสร้างให้ดีเป็นพิเศษโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบ
? กรณีที่มีปัญหาการออกแบบหรือเขียนสัญญาเกิดขึ้นหรือพบว่ามีการล็อคสเป็คเกิดขึ้นทุกรูปแบบให้ร้อง สตง.เพื่อระวังการดำเนินการ
? กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ ให้มีการตั้งคณะกรรมการโดยคณะรัฐมนตรีมอบหมายมาดูแลและวินิจฉัย       
2. ขั้นการเวนคืนที่ดิน
? เลือกเส้นทางตัดถนนให้ผ่านที่ดินของตนและพวกพ้อง
? ใช้ข้อมูลภายในกว้านซื้อที่ดินดักรอโครงการ
? การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลอาสินโดยมิชอบ
? การตรวจสอบผลอาสินที่เป็นเท็จ
? การหาประโยชน์จากการอุทธรณ์ค่าเวนคืน     ? ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในระดับอธิบดี, รองอธิบดี และผู้อำนวยการสำนักแสดงทรัพย์สิน และมีข้อกำหนดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
? ให้เจ้าหน้าที่ระดับควบคุมการปฏิบัติงานแจ้งทรัพย์สิน
? ให้บทบาทเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นร่วมตรวจสอบ
? ให้ร้องต่อ ป.ป.ช.หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เฉพาะ เพื่อดำเนินการ       
3.ขั้นการจัดซื้อจัดจ้างและการประมูล
? การกำหนดราคากลางที่ไม่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตัว
? การฮั้ว หรือสมยอมในการประมูล
? กระบวนการยื่นซองและเปิดซองไม่โปร่งใส
? การลดงาน และ/หรือแก้แบบ เพื่อช่วยการเลี่ยงภาษี
? การทำบัญชีรายจ่ายปลอมโดยสมคบกับผู้รับเหมาสัญญาช่วง
? ให้องค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และปรับปรุงราคากลางให้เหมาะสม
? ให้มีการทดลองระบบ E-Procurement ในการก่อสร้าง และซ่อมแซมในวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
? เมื่อจำเป็นต้องขยายเวลาการก่อสร้าง ต้องควบคุมให้มีการหยุดงานในขณะกำลังแก้ไขแบบ
? ให้มีการตรวจสอบบัญชีผู้รับเหมาในเครือข่าย ตรวจรายได้ของผู้รับเหมาช่วงทุกๆ ทอดให้ชัดเจน     ? หากเกิดปัญหาให้ร้องต่อ ป.ป.ช.หรือ หน่วยงานรัฐที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อดำเนินการ
? กรมสรรพากรควรมีแผนกติดตามสืบสวน ผู้รับเหมาที่มีการจ้างเหมากันหลายๆ ทอดเป็นกรณีพิเศษ      
4. ขั้นการก่อสร้างและตรวจรับงาน
? จงใจไม่ตรวจคุณภาพวัสดุ ละเลยการตรวจนับจำนวน และการจัดฉากเลือกจุดตรวจสอบเพื่อรับมอบงาน
? ทุจริตในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์และวัสดุ
? ใช้เทคนิคการเลี่ยงภาษีเพื่อช่วยกรณีผู้รับเหมารับงานเกินขีดความสามารถ
? วิศวกรผู้ออกแบบอนุมัติวัสดุเทียบเท่า, การก่อสร้างที่มีปัญหา หรือยกเลิกคำสั่ง ให้เอื้อต่อผู้รับเหมาโดยมีค่าตอบแทน
? เรียกรับเงินพิเศษจากผู้รับเหมา     ? ให้ผู้รับผิดชอบควบคุมงานและผู้มีอำนาจตัดสินใจมีการแจ้งทรัพย์สินและกำหนดข้อห้ามในการมี ผลประโยชน์ทับซ้อน
? ให้มีการสุ่มตรวจสอบโดยหน่วยงานส่วนกลาง หรือ สตง.     ? ในระหว่างก่อสร้าง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นให้ร้อง สตง.หรือหน่วยงานรัฐที่ จัดตั้งขึ้นเฉพาะ      
5. ขั้นการควบคุมการใช้ถนน
? ไม่กำหนดมาตรฐานน้ำหนักบรรทุกที่ชัดเจน
? ไม่ติดตั้งตาชั่ง แกล้งทำให้ตาชั่งชำรุดเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งาน
? ส่วยสติ๊กเกอร์
? ส่วยสินค้าหนีภาษี และยาเสพติด
? ดัดแปลงกระบะเพื่อบรรทุกของมากขึ้น
? ทุจริตค่าผ่านทาง
? กำหนดน้ำหนักบรรทุกให้ชัดเจนโดยยึดหลักวิชาการ ไม่ใช่ยึดเหตุผลทางการเมือง
? ให้เอกชนรับสัมปทานดูแลเส้นทางที่ต้องมีการควบคุมน้ำหนักโดยให้รับผิดชอบ การชั่งน้ำหนัก เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางและ การซ่อมบำรุง โดยต้องรับผิดชอบครอบคลุมระยะเวลา 2 ปี หลังสิ้นสุดสัญญาด้วย
? ให้ สตง.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบเป็นระยะ
? ให้ ปปส., ปปง.ตรวจสอบดำเนินการเรื่องสินค้าภาษีและยาเสพติด
? ประกาศให้ใช้ยางรถบรรทุกตามมาตรฐานขององค์กรสหประชาชาติโดยการจำกัดชั้นผ้าใบและเส้นลวดในการผลิตยางรถบรรทุก ไม่ให้เกินมาตรฐานและควบคุมการจำหน่ายยางที่มีคุณสมบัติเกินมาตรฐาน เพื่อป้องกันการบรรทุกน้ำหนักเกิน
? กำหนดโทษปรับให้สูงขึ้น เพื่อลงโทษเจ้าของรถที่ทำการดัดแปลงสำหรับบรรทุกน้ำหนักเกิน      
6. ขั้นการซ่อมบำรุง
? กระจายงานซ่อมบำรุง
? โกงค่าจ้างเหมา
? โกงวัสดุอุปกรณ์
? โกงการตรวจนับจำนวนหรือส่งมอบงานล่าช้า
? ควบคุมเรื่องการแสดงทรัพย์สินและผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
? กระจายงานให้ภาคเอกชนดำเนินการ
? ร้อง สตง.หรือ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการ      
8. ข้อเสนอเชิงนโยบาย
    จากแนวโน้มของการขยายตัวด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศและทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่กำลังจะพัฒนาระบบราชการขนส่ง มวลชนและสินค้าในระดับมหภาคอย่างเป็นระบบ ในอนาคตนั้นจึงเป็นที่คาดหมายว่าอาจจะต้องมีการขยายทางหลวงแผ่นดินไปสู่ทางหลวง อนุภูมิภาคจนถึงทางหลวงทวีปเพราะฉะนั้นในอนาคตกรมทางหลวงจะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากจึงควรวางพื้นฐานการดำเนินงานของ กรมทางหลวงให้ดีโดยใช้แนวคิดองค์กรสีขาวและธรรมาภิบาล
    1. พัฒนาระบบคุณธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือน การแต่งตั้ง-โยกย้าย หรือการเลื่อนต่ำแหน่งให้สอดรับกับภารกิจในอนาคต
        - ตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงผู้ที่จะดำรงตำแหน่งควรผ่านกระบวนการสาธารณะให้สังคมมีส่วนร่วมรับรู้รับทราบและตรวจสอบใน ระดับใดระดับหนึ่งเสียก่อน
        - การแต่งตั้งตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงให้มีการเซ็นต์สัญญากับรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีและควรมีระยะเวลาทำงาน (term) ที่ชัดเจน เช่น 4 ปี เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาใช้อิทธิพลกดดันให้สนองผลประโยชน์ส่วนตัวได้ซึ่งเป็นการตัดวงจรคอร์รัปชัน 3 เส้า (ข้าราชการ-นักการเมือง-ธุรกิจ)
        - ในตำแหน่งอื่นๆ ควรมีการพัฒนาระบบคุณธรรม การเลื่อนขั้นเงินเดือนและการเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
    2. กำหนดเรื่องการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินในตำแหน่งที่จำเป็นทุกตำแหน่งหรือด้วยความสมัครใจในตำแหน่งที่ไม่ต้องให้แสดง และควรมีการกำหนดระเบียบเพื่อป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในทุกตำแหน่ง
    3. ให้มีกลไกภาคประชาชนและประชาชนและประชาสังคมเข้ามาร่วมดูแลทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทำนองเดียวกับงานของกระทรวง- ศึกษาธิการ โดยมีองค์การมหาชนทำหน้าที่สนับสนุน
    4. ควรมีการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อความโปร่งใส” (เป็นองค์กรมหาชน) โดยให้มีการกำหนดเป็นระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายของ สำนักงบประมาณ เพื่อให้มีการจัดเตรียมงบประมาณไว้ในจำนวนที่แน่นอน (อาทิ ร้อยละ 1) จากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่มีมูลค่า โครงการมากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไปทุกโครงการ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างความโปร่งใส ของโครงการต่างๆ ของกรมทางหลวง
view